วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การรักษาโรคไก่คอดอก


การทำวัคซีนป้องกันโรคไก่ในหมู่บ้าน


การทำวัคซีนโรคฝีดาษไก่


ไก่กระทง


พันธุ์ไก่เนื่อโคราช


การเลี้ยงไก่เนื้อด้วยแสงสีน้ำเงิน


วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสุขาภิบาล


การสุขาภิบาล
                การสุขาภิบาล  เป็นการมุ่งเน้นถึงการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับไก่  การสุขาภิบาลที่ดีจะต้องทำให้ไก่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  แข็งแรงสมบูรณ์  เจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสูง  ทำให้ผู้เลี้ยงมีความมั่นคงในอาชีพ  แต่ในสภาพปัจจุบันมีโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากกับไก่  ดังนั้น  การปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอย่างเคร่งครัดจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงให้ได้ประโยชน์สูงสุด
                งานส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร  (2549)  ได้กล่าวถึงวิธีการป้องกันและควบคุมโรคดังต่อไปนี้
                1.     การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ  มีการเน้นด้านการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อมากขึ้น  บางฟาร์มมักฆ่าเชื้อมากกว่าหนึ่งครั้ง  และใช้ยาฆ่าเชื้อมากกว่าหนึ่งชนิด
                2.     พื้นเล้าต้องเป็นพื้นคอนกรีตขัดมัน  เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3.     มีการเน้นด้านการพักเล้ามากขึ้น
                4.     ควรเลี้ยงไก่อายุเดียวกันทั้งฟาร์ม  การเลี้ยงไก่หลายอายุในฟาร์มเดียวกันจะควบคุมโรคได้ยาก  เนื่องจากมักมีไก่เป็นโรควนเวียนอยู่ในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง
                5.     การควบคุมโรคเข้าฟาร์มจากคน  สัตว์ และยานพาหนะต่าง ๆ          
                6.     การทำวัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสม
                การป้องกันโรคในไก่กระทงที่นิยมใช้กันมาก  คือ  การทำวัคซีนผู้เลี้ยงไก่ควรวางแผนกำหนดเวลาทำวัคซีนไก่ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นให้แน่นอนและเหมาะสมกับอายุและชนิดของวัคซีน  บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ม.ป.ป.)  ได้ให้คำแนะนำและจัดโปรแกรมวัคซีนไก่กระทง ดังนี้

การให้น้ำและอาหาร


การให้น้ำและอาหาร
     การให้น้ำให้อาหารต้องให้อย่างเต็มที่  มีอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารเพียงพอกับ จำนวน ลูกไก่  การแขวนอุปกรณ์ให้อาหารควรแขวนโดยให้ขอบบนของจานรองถังอาหารสูงกว่าระดับหลังไก่ประมาณ  นิ้ว  (2.5  เซนติเมตร)  การให้อาหารควรให้อย่างน้อยวันละ  2  ครั้ง  น้ำที่ ใช้เลี้ยงไก่ควรเป็นน้ำที่สะอาด  มีคุณภาพดี  ปราศจากสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของไก่ และ ควรมีน้ำให้ไก่อย่างเพียงพอและตลอดเวลาถ้าใช้ขวดน้ำต้องใช้อย่างน้อย  14 – 20  กระติกต่อไก่  1,000  ตัว  ถ้าเป็นแบบจุ๊บน้ำหรือถ้วยควรใช้  1  หัวต่อไก่  10 – 15  ตัว  ตรวจสอบจุ๊บน้ำให้อยู่ ใน สภาพดีไม่มีน้ำหยด

ลักษณะของอาหาร
                        1.  อาหารข้น หรือหัวอาหาร (concentrates) เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบเหล่าโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาต่างๆ ยกเว้นธัญพืชหรือวัตถุดิบบางอย่างทั้งนี้  เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผู้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบอื่นบางอย่างราคาถูกหรือที่ปลูกเก็บเกี่ยวเอง อาทิเช่น ปลายข้าว ข่าวโพดและรำละเอียด เมื่อผสมกับอาหารข้นตามอัตราส่วนที่กำหนดก็จะได้อาหารสมดุลซึ่งมีโภชนะต่างๆครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์แต่ละชนิด
                        2.  อาหารสมดุล (complete or balance ratio)  หรืออาหารผสมเสร็จ (formula feed) อาหารผสมที่มีโภชนะต่างๆครบถ้วนตามชนิดและอายุสัตว์สามารถให้การเจริญเติบโตและผลผลิตได้สูงโดยไม่ต้องเติมอาหารอย่างอื่นเพิ่มลงไปอีกมีอยู่ 3 ลักษณะได้แก่
                        2.1 อาหารป่น (mash  feed) เป็นอาหารที่ผสมจากวัตถุดิบที่ละเอียดแล้วหลายๆอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยมากจะเติมยาปฎิชีวนะ ไวตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนที่จำเป็นลงไปด้วย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อาหารป่นแห้ง (dry mash) และอาหารป่นเปียก (wet mash) ข้อดีคือสะดวกในการจัดการและต้นทุนในการผลิตต่ำ ข้อเสีย อาหารสูญเสียมากและขบวนการผลิตไม่ดีสัตว์อาจจะเลือกกินเฉพาะวัตถุดิบบางชนิดทำให้ได้รับโภชนะไม่ครบตามร่างกายต้องการ
                         2.2     อาหารเม็ด (pellet  feed)  เป็นอาหารป่นที่นำมาอัดเป็นเม็ด อาจจะใช้ไอน้ำช่วยหรือไม่ใช่ก็ได้มีข้อดีคือช่วยให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหาร ทำให้อาหารสูญเสียน้อยลงแต่มีข้อเสียคือ เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและในลูกไก่จะกินไม่สะดวกเม็ดอาหารจะใหญ่เกิน
                         2.3    อาหารอัดเม็ดตีแตก (crumble  feed ) เป็นอาหารอัดเม็ดแต่นำมาตีให้แตกโดยมีขนาดอยู่ระหว่างอาหารป่นกับอาหารเม็ดไม่หยาบหรือละเอียดจนเกินไปปัจจุบันนิยมใช้มากสุด

           

โรงเรือนและอุปกรณ์


โรงเรือนและอุปกรณ์
โรงเรือน
โรงเรือนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลี้ยงไก่ การออกแบบโรงเรือนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมจะทำให้ไก่อยู่อย่างสบาย มีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตดี แต่สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ดังนั้นจึงมีปัญหาเกี่ยวกับอากาศร้อน การออกแบบโรงเรือน จึงควรเน้นทางด้านการระบายอากาศที่ดี (อาวุธ, 2538)
การระบายอากาศในโรงเรือน
สภาพอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไก่ คือ ประมาณ 65 – 75 องศาฟาเรนไฮต์ (18.3 – 23.9 องศาเซลเซียส) ไก่จะเริ่มอึดอัดและสมรรถภาพการผลิตลดลง ความร้อนภายในโรงเรือนเกิดจากการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านหลังคาเข้ามาภายในโรงเรือน และความร้อนจากการเมแทบอลิซึมของตัวไก่เอง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไก่จะกินอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตลดลง ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลง อัตราการตายสูงขึ้น ไก่จะกินน้ำมากขึ้นและเพิ่มอัตราการหายใจ การระบายอากาศจะช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ระบายความชื้น กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจและกำจัดก๊าซแอมโมเนียม เป็นก๊าซที่เบากว่าอากาศเมื่อเกิดก๊าซนี้ขึ้นจะกระจายอยู่ในฝูงไก่ อัตราการระบายอากาศภายในโรงเรือนจะแตกต่างกันตามชนิดของโรงเรือน ขนาดไก่ ความหนาแน่นของฝูง และอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม (อาวุธ, 2538)
ประเภทของโรงเรือน
อรวรรณ (2547) ได้จัดแบ่งประเภทของโรงเรือนไว้ 2 ประเภท ดังนี้
                 1.โรงเรือนระบบเปิด (open house) หมายถึง โรงเรือนที่อากาศเข้าออกในโรงเรือนได้ สภาพแวดล้อมในโรงเรือนจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศภายนอก ซึ่งโรงเรือนแบบเปิดนั้น ไก่จะอยู่ไม่สบายและให้ผลผลิตต่ำ
                  2.โรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนระบบระเหยไอเย็นจากน้ำ (evaporative cooling system Evap) หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อมภายใน เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไก่ ผนังโรงเรือนจะปิดทึบ และบังคับอากาศที่จะผ่านเข้าโรงเรือนให้ผ่านแผ่นทำความเย็นที่มีน้ำไหล ผ่านทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลงและมีระบบดูดอากาศออกภายนอกโรงเรือน
โรงเรือนที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นโรงเรือนระบบปิด มีพัดลมและแผ่นทำความเย็นอยู่คนละด้านของโรงเรือน โดยแผ่นทำความเย็นจะอยู่ส่วนต้นของโรงเรือน พัดลมจะอยู่ด้านท้ายของโรงเรือน โดยผ่านแผ่นรังผึ้งที่เปียกน้ำทำให้อากาศเย็นลง จากนั้นจะผ่านเข้าในโรงเรือนแล้วสะสม ความร้อนจากตัวไก่และความชื้นในโรงเรือนไปตลอดทาง สุดท้ายจะถูกพัดลมดูดออกไปจากโรงเรือน โรงเรือนจะต้องปิดมิดชิด ไม่มีรอยรั่วที่อากาศภายนอกจะเข้าในโรงเรือนได้เลย ยกเว้นเข้าทางแผ่นทำความเย็นทางเดียวเท่านั้น ด้านนอกโรงเรือนหน้าแผ่นทำความเย็นติดตั้งมุ้งลวดป้องกันแมลงและหนูไม่ให้เข้าในโรงเรือน
ส่วนประกอบที่สำคัญของโรงเรือนระบบปิดที่ อวรวรรณ (2547) กล่าวไว้มี ดังนี้
           1. แผ่นทำความเย็น (cooling pad) มีหน้าที่ทำให้น้ำกระจายตัวมากขึ้น ทำให้การระเหยของน้ำดีขึ้น และทำให้อุณหภูมิของอากาศในแผ่นทำความเย็นต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง แผ่นทำ ความเย็นทำจากกระดาษแล้วเคลือบด้วยเซลลูโลส เรียกว่า แผ่นรังผึ้ง หรือทำจากมุ้งไนล่อน
           2. พัดลมดูดอากาศ (exhaust fan) มีหน้าที่ดูดอากาศจากภายในโรงเรือนออก ลดการสะสมของความร้อน ความชื้น และก๊าซต่าง ๆ
           3. ท่อส่งและกระจายน้ำ (piping and pump) ทำหน้าที่ส่งน้ำและกระจายน้ำจากบ่อพักไปหล่อเลี้ยงแผ่นทำความเย็น  โดยท่อที่ติดตั้งไว้เหนือแผ่นทำความเย็น
           4. บ่อพักน้ำ (sump) มีหน้าที่เก็บพักน้ำเพื่อให้ไหลผ่านท่อส่งน้ำและกระจายน้ำ โดยใช้ปั๊มน้ำ ดูดน้ำจากบ่อพักซึ่งควรมีความจุ ¾ แกลลอน ต่อพื้นที่แผ่นทำความเย็น 1 ตารางฟุต
           5. ผ้าม่านกันลม (curtain) ใช้ปิดด้านข้างโรงเรือนทั้ง 2 ด้าน ทำจากพลาสติกหรือพีวีซีที่ผสม UV protect เพื่อไม่ให้ผ้าม่านกรอบ เมื่อต้องถูกแสงแดดนาน ๆ
           6. ชุดควบคุมอุณหภูมิ (thermostat) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมการทำงานของพัดลมและปั๊มน้ำ เนื่องจากโรงเรือนแต่ละโรงเรือนมีพัดลมหลายตัว เพื่อช่วยระบายอากาศหากอุณหภูมินอกโรงเรือนเย็นสบายอาจไม่ต้องเปิดพัดลมทุกตัว
          7. ชุดสัญญาณเตือนกระแสไฟฟ้าขัดข้อง (electrical alarm) เป็นอุปกรณ์เสริมช่วยส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่าไฟฟ้าดับที่โรงเรือนใดบ้าง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับฝูงไก่ในโรงเรือนนั้น ๆ ได้
อุปกรณ์
อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไก่และควรมีประจำโรงเรือนต้องมีความพอเพียงต่อจำนวน
ไก่กระทงที่จะเลี้ยง อุปกรณ์ที่จำเป็นที่ อรวรรณ (2547) กล่าวไว้มีดังนี้
  1. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติก รางน้ำอัตโนมัติที่ให้น้ำแบบจุ๊บ (nipple)
  2. อุปกรณ์ให้อาหาร เช่น ถาดอาหาร ถังอาหาร รางอาหาร รางอาหารแบบอัตโนมัติ
  3. อุปกรณ์ในการกกลูกไก่ เช่น เครื่องกกแบบใช้แก๊ส เครื่องกกใช้ไฟฟ้า แผงกั้น ล้อมกก 
4. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ให้วัคซีน อุปกรณ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนและอุปกรณ์

การจัดการเลี้ยงดู


การจัดการเลี้ยงดู
                การเลี้ยงไก่กระทงในปัจจุบันต้องอาศัยการจัดการหลายอย่างที่สัมพันธ์กันเพื่อจุดประสงค์  คือ  การผลิตที่มีประสิทธิภาพ  ได้น้ำหนักตามเป้าหมาย  เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดสูงและต้นทุนการผลิตต่ำสุด  การจัดการฟาร์มที่ดีอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการเลี้ยงไก่ให้มีประสิทธิภาพ ที่ดี
                จิโรจ  (2547)  และงานส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร (2549)  ได้จัดแบ่งการจัดการเลี้ยงดูไก่กระทงเป็นระยะต่าง ๆ  ดังนี้
                1.     การจัดการระยะกก
                        ระยะกกเป็นระยะสำคัญที่ต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก  เนื่องจากลูกไก่ยังเล็กเกิดปัญหาสุขภาพและตายได้ง่าย  ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการดูแล  ดังนี้
                        1.1    การเตรียมโรงเรือนและสถานที่กก
                                  ก่อนนำไก่เข้าเลี้ยงต้องเตรียมโรงเรือนให้สะอาดเพื่อลดโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรค  การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคโรงเรือนให้พิจารณาทำตามลำดับก่อนและหลัง  ดังนี้
                                  1.1.1     นำอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากโรงเรือน
                                  1.1.2     นำวัสดุรองพื้นเก่าออกจากโรงเรือน
                                  1.1.3     ล้างโรงเรือน
                                  1.1.4     ฆ่าเชื้อทุกซอกทุกมุมในโรงเรือน
                                  1.1.5     ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ  อุปกรณ์  ทิ้งตากแดดไว้หรือเก็บในที่สะอาด
                                  1.1.6     ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อระบบให้น้ำและระบบให้อาหารทั้งระบบ
                                  1.1.7     นำวัสดุรองพื้นใหม่เข้าโรงเรือน  ซึ่งส่วนมากใช้แกลบ เกลี่ยวัสดุรองพื้นให้มีความหนา  8 – 10  เซนติเมตร  แล้วพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นละอองลงบนวัสดุรองพื้นก่อนนำลูกไก่ เข้า
                                  1.1.8     ติดตั้งแผงกั้นและเครื่องกกลูกไก่  โดยพยายามไม่ให้มีซอกมุม  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เข้าไปนอนสุมกัน  แผงล้อมกกควรทำความสะอาดง่ายและมีลักษณะทึบไม่มีรูหรือตาข่าย  เพื่อช่วยในการเก็บความร้อนจากเครื่องกก  ในช่วง 1 – 3  วันแรก  อาจใช้พื้นที่การเลี้ยงลูกไก่ที่ความหนาแน่นลูกไก่  20 – 30  ตัวต่อตารางเมตร  เครื่องกกไฟฟ้าหรือกกแก๊สปกติจะใช้กกลูกไก่  500  ตัวต่อ  1  เครื่องกก  ควรขยายแผงกั้นกกทุก ๆ  2 วัน  เพื่อให้มีพื้นที่เหมาะสมให้ลูกไก่อยู่อย่างสบาย  ในการติดตั้งเครื่องกกควรมีระดับความสูงที่เหมาะสมกับชนิดของเครื่องกกโดยให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่นที่เหมาะสมที่สุด  เปิดเครื่องกกอย่างน้อย  1 – 2  ชั่วโมง  ก่อนลูกไก่มาถึงฟาร์ม
                                  1.1.9     จัดเตรียมอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำให้พร้อมและเพียงพอกับจำนวนลูกไก่ ในการวางอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำ  ควรวางสลับกัน  การวางอุปกรณ์ให้น้ำควรมีวัสดุรองให้สูง   ขึ้นประมาณ  5  เซนติเมตร  เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของวัสดุรองพื้นลงน้ำ
                        1.2    การจัดการเมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์ม
                                  เมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์ม  ควรนำกล่องลูกไก่เข้าโรงเรือนทันที  ชั่งน้ำหนักลูกไก่    ต่อกล่อง  ตรวจดูสภาพลูกไก่  นับจำนวนลูกไก่  จดบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ  ปล่อยลูกไก่ลงกกและควรให้น้ำผสมวิตามินให้ไก่กินอย่างทั่วถึง  หลังจากไก่กินน้ำประมาณ  30  นาที  จึงวางถาดอาหารแล้วโรยอาหารลงในถาดให้ไก่กินอย่างทั่วถึง  ควรให้อาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเพราะจะช่วยกระตุ้นให้ลูกไก่กินอาหารได้มากขึ้น  เมื่อลูกไก่อายุได้ 6 – 7 วัน  ควรเปลี่ยนอุปกรณ์การให้น้ำ       เป็นแบบจุ๊บและอุปกรณ์ให้อาหารเป็นแบบถังอาหาร
                        1.3    การให้น้ำและอาหาร
                                  การให้น้ำจะต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา  อุปกรณ์ให้น้ำต้องสะอาดและเพียงพอกับความต้องการของไก่  การให้อาหารไก่เล็กควรให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง  เพื่อป้องกันการหกหล่นและอาหารสดอยู่เสมอ  อาหารจะต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา
                        1.4    การให้ยาและวิตามิน
                                  ในสภาวะปกติลูกไก่ที่สมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือวิตามินใด ๆ การให้ยามักให้ในกรณีที่ลูกไก่ไม่ค่อยสมบูรณ์หรือสงสัยว่ามีเชื้อแบคทีเรีย   มักให้  3 – 5 วัน  การให้วิตามินเพื่อเสริมสิ่งที่ร่างกายต้องการซึ่งอาจมีไม่พอในสูตรอาหาร หรือเกรงว่าสิ่งที่มีอยู่ในอาหารอาจเสื่อมคุณภาพลง  โดยเฉพาะในกรณีลูกไก่คุณภาพไม่ค่อยดีนัก
                        1.5    การจัดการแสงสว่าง
                                  ลูกไก่ต้องการแสงที่ค่อนข้างสว่างในช่วงอายุสัปดาห์แรก  เพื่อให้ลูกไก่เห็นน้ำ และอาหารอย่างชัดเจน และเป็นการกระตุ้นการกินน้ำและอาหารของลูกไก่ด้วย ความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า  50  ลักซ์  ที่ระดับตัวลูกไก่  เมื่อลูกไก่อายุ  7  วันแรก
                        1.6    การควบคุมอุณหภูมิ
                                  ลูกไก่อายุ  7  วันแรก  มีขีดจำกัดในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  เมื่อลูกไก่อายุ  1  วัน  อุณหภูมิของร่างกายประมาณ  39.7  องศาเซลเซียส  และจะค่อย ๆ ปรับสูงขึ้น  อุณหภูมิที่ร้อนเกินไปมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน  ขณะที่อุณหภูมิเย็นเกินไปไก่จะสุมกันและทับกันตาย  ไก่ที่เหลือจะโตช้าและมีขนาดไม่สม่ำเสมอ  อุณหภูมที่เย็นเกินไปยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้ลูกไก่ท้องมานมากขึ้น  อุณหภูมิในบริเวณพื้นที่การกกต้องไม่ต่ำกว่า  31  องศาเซลเซียส  สำหรับลูกไก่ในช่วงอายุสัปดาห์แรก
                2.     การจัดการไก่กระทงระยะรุ่นถึงตลาด
                                การเลี้ยงไก่กระทงในช่วงระยะรุ่นจนถึงตลาด  (2  สัปดาห์ขึ้นไป)  มีความสำคัญเช่นเดียวกับในระยะกก  เนื่องจากไก่กระทงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  มีความสามารถในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อสูง  จึงเป็นสาเหตุทำให้ไก่เกิดความเครียด  โดยทั่วไปจะเลี้ยงไก่กระทงแบบปล่อยพื้นมีวัสดุรองพื้นจำพวกแกลบหรือขี้เลื่อยจะใช้พื้นที่การเลี้ยง 8 – 10 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร